รายชื่อพายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[4] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[5] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[4] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[5] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง)[6] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[7]

ชุดที่ 5

  • ซ้านหวู่ (2301)
  • มาวาร์ (2302)
  • กูโชล (2303)
  • ตาลิม (2304)
  • ทกซูรี (2305) (ใช้ในปัจจุบัน)
  • ขนุน (ยังไม่ใช้)
  • แลง (ยังไม่ใช้)
  • เซาลา (ยังไม่ใช้)

ชุดที่ 1

  • ด็อมเร็ย (ยังไม่ใช้)
  • ไห่ขุย (ยังไม่ใช้)
  • คีโรกี (ยังไม่ใช้)
  • ยุนยาง (ยังไม่ใช้)
  • โคอินุ (ยังไม่ใช้)
  • ซันปา (ยังไม่ใช้)
  • เจอลาวัต (ยังไม่ใช้)
  • เอวิเนียร์ (ยังไม่ใช้)
  • แคมี (ยังไม่ใช้)
  • พระพิรุณ (ยังไม่ใช้)
  • มาเรีย (ยังไม่ใช้)
  • เซินติญ (ยังไม่ใช้)
  • อ็อมปึล (ยังไม่ใช้)
  • อู๋คง (ยังไม่ใช้)
  • ชงดารี (ยังไม่ใช้)
  • ชานชาน (ยังไม่ใช้)
  • ยางิ (ยังไม่ใช้)
  • หลี่ผี (ยังไม่ใช้)
  • เบบินคา (ยังไม่ใช้)
  • ปูลาซัน (ยังไม่ใช้)
  • ซูลิก (ยังไม่ใช้)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[8] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2026 (พ.ศ. 2569) ด้วย[8] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น โอเบต, โรซัล และ อุมเบร์โต ที่ถูกนำมาแทน โอมโปง, โรซีตา และอุสมัน ที่ถูกถอนไป[8]

  • อามัง
  • เบตตี
  • เชเดง
  • โดโดง
  • เอไก (ใช้ในปัจจุบัน)
  • ฟัลโกน (ยังไม่ใช้)
  • โกริง (ยังไม่ใช้)
  • ฮันนา (ยังไม่ใช้)
  • อีเนง (ยังไม่ใช้)
  • เจนนี (ยังไม่ใช้)
  • กาบายัน (ยังไม่ใช้)
  • ลีไวไว (ยังไม่ใช้)
  • แมริลิน (ยังไม่ใช้)
  • นิมฟา (ยังไม่ใช้)
  • โอนโยก (ยังไม่ใช้)
  • เปร์ลา (ยังไม่ใช้)
  • กีเยล (ยังไม่ใช้)
  • ราโมน (ยังไม่ใช้)
  • ซาราห์ (ยังไม่ใช้)
  • ตามาเรา (ยังไม่ใช้)
  • อูโกง (ยังไม่ใช้)
  • บีริง (ยังไม่ใช้)
  • เวง (ยังไม่ใช้)
  • โยโยย (ยังไม่ใช้)
  • ซิกซัก (ยังไม่ใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
  • อาเบ (ยังไม่ใช้)
  • เบร์โต (ยังไม่ใช้)
  • ชาโร (ยังไม่ใช้)
  • ดาโด (ยังไม่ใช้)
  • เอสโตย (ยังไม่ใช้)
  • เฟลีโยน (ยังไม่ใช้)
  • เฮนิง (ยังไม่ใช้)
  • เฮอร์มัน (ยังไม่ใช้)
  • อีร์มา (ยังไม่ใช้)
  • ไฮเม (ยังไม่ใช้)

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... https://pubfiles.pagasa.dost.gov.ph/pagasaweb/file... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... https://web.archive.org/web/20120211074501/http://... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TC... https://web.archive.org/web/20130801020116/http://... https://web.archive.org/web/20170812172856/http://... https://doi.org/10.6057%2F2012TCRR01.03 https://www.worldcat.org/issn/2225-6032